761 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคกระดูกพรุน คือ โรคกระดูกชนิดหนึ่งที่กระดูกเริ่มเสื่อมหรือบางลง เนื่องจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก โดยตัวโรคจะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดหากคนไข้ไม่ได้กระดูกแตกหรือหัก พบได้บ่อยบริเวณกระดูกสันหลัง สะโพก ข้อมือและกระดูกส่วนอื่น ๆของร่างกาย พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
สาเหตุการเกิดโรค
• การสูญเสียฮอร์โมนเพศหญิง ในสตรีวัยหมดประจำเดือน พบว่า25%ของสตรีวัยหมดประจำเดือนมีภาวะกระดูกพรุน
• หญิงที่หมดประจำเดือนเร็ว หรือผ่าตัดรังไข่ทิ้งก่อนอายุ 45ปี
• ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
• ผู้ที่ขาดแคลเซียม วิตามินดี
• ผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ
• ผู้ที่นำหนักลดอย่างรวดเร็วจากการโหมออกกำลังกาย หรืออดอาหาร
• การได้รับยาสเตอรอยด์เกินขนาด
• ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังเช่นโรคตับ โรคระบบทางเดินอาหารผิดปกติ
• พบโรคกระดูกพรุนในเพศชายได้เช่นกันแต่พบได้น้อยกว่าเพศหญิง ปัจจัยเสี่ยงของโรคในเพศชายคือการขาดฮอร์โมนเพศชายและโรคพิษสุราเรื้อรัง
• พบว่าเมื่ออายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปกระดูกจะบางลงประมาณ 1-3% ทุกๆปี
การป้องกันโรคกระดูกพรุน
• ออกกำลังกายเป็นประจำ
• รับประทานอาหารให้เหมาะสมและได้ปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย โดยเฉพาะแคลเซียมและวิตามินดี ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก
• งดสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
• ตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงวัยมากกว่า 50 ปี หรือผู้ที่มีความเสี่ยงอื่น เช่น มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน ตัดรังไข่ทิ้งก่อนอายุ 45 ปี หรือขาดฮอร์โมนเพศทั้งในชายและหญิง